http://www.irpro5.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com
 

 เกี่ยวกับเรา

 ผลิตภัณฑ์

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

รับสมัครพนักงาน

อุปกรณ์แสตนเลส

เสื้อกาวน์

ผ้ากันเปื้อน,เอี๊ยม

ผ้าสปันบอนด์

รับผลิตสินค้าพรีเมี่ยม

หน้ากากอนามัยเด็ก

ผลิตภัณฑ์สำหรับสปา

ถุงนิ้ว

สินค้าป้องกันหวัด 2009

เสื้อผ้าตามเทศกาล

Catalogสีผ้า

วิทยาศาสตร์สิ่งทอ

อุปกรณ์ Safety

ถุงมือ

รองเท้า

หมวก

เสื้อผ้า

สถิติ

เปิดเว็บ23/01/2009
อัพเดท19/02/2020
ผู้เข้าชม1,163,175
เปิดเพจ1,429,768

ประกันราคายางช่วยชาวสวน เทงบ 3 หมื่นล้าน

ประกันราคายางช่วยชาวสวน เทงบ 3 หมื่นล้าน

ดีเดย์-วันที่ 1 ต.ค. สูงสุดโลละ 60 บ.

รมว.เกษตรฯเทงบ 3 หมื่นล้าน ประกัน ราคายาง ประกาศ 1 ต.ค.นี้ หยุดเลือดชาวสวนยาง หลังต้องขาดทุนบักโกรกมานาน โดยจ่ายเงินประกันก้อนแรกสำหรับชาวสวนยางที่มีเอกสารสิทธิชัดเจน ส่วนที่ไม่มีเอกสารสิทธิจะหามาตรการอื่นมารองรับ สั่งตั้ง 4 ทีมทำงาน ประกันราคายางอุดช่องโหว่กันทุจริต

ชาวสวนยางอาจได้เฮเนื่องจากรัฐบาลเตรียมชดเชยราคายาง โดยนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 ต.ค.2562 ชาวสวนยางกลุ่มแรกจะได้รับเงินชดเชยราคายาง ตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ในราคายางแผ่นดิบ 60 บาท/กิโลกรัม (กก.) จำนวน 25 ไร่/ครัวเรือน กำหนดให้มีการจ่ายชดเชยระยะเวลา 6 เดือน เบื้องต้นกำหนดงบประมาณไว้ที่ 30,000 ล้านบาท โดยจะจ่ายเงินจะใช้เงินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำรองจ่ายไปก่อน และจะขอรับการสนับสนุนจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 เพื่อชดเชยต่อไป

ทั้งนี้ ระยะเวลาชดเชยราคายางแผ่นดิบกำหนดไว้ 6 เดือนจ่ายเงินทุก 2 เดือน ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่เดือน ต.ค.2562 ปิดโครงการ เม.ย.2563 โครงการจะครอบคลุมชาวสวนยางในพื้นที่ขึ้นทะเบียนไว้ 13,326,540 ไร่ เกษตรกร 1,129,336 ครัวเรือน โดยเงินชดเชยการประกันรายได้จะแปรผันไปตามราคายางพาราที่เคลื่อนไหวตลอดระยะดำเนินโครงการ ตามสูตร เงินชดเชยประกันรายได้ในแต่ละครั้ง เท่ากับราคาประกันรายได้ หักราคาอ้างอิง และปริมาณการขายผลผลิตยางพาราตามเนื้อยางที่กรีด 240 กก./ไร่/ปี โดยกำหนดการประกันราคายางแผ่นดิบคุณภาพดี 60 บาทต่อ กก. ประกันรายได้ราคาน้ำยางสด 57 บาท/กก. และประกันรายได้ราคายางก้อนถ้วย 50 บาท/กก.

รมว.เกษตรฯกล่าวอีกว่า การช่วยเหลือด้านราคาให้ชาวสวนยางพารา เป็นสิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการแต่ต้องรอบคอบ เพื่ออุดช่องโหว่ทางกฎหมายที่อาจทำให้เกิดการทุจริต จึงตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 4 คณะ เพื่อมาดำเนินการพิจารณาในแต่ละมิติ ดังนี้คือ 1.คณะกรรมการบริหารโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง 2.คณะทำงานกำหนดราคากลางอ้างอิง 3.คณะกรรมการบริหารโครงการฯระดับจังหวัด 4.คณะทำงานโครงการระดับตำบล

“การรับประกันราคาเบื้องต้นมีการดำเนินการกับผู้ที่มีเอกสารสิทธิก่อน เพราะกลุ่มนี้จะไม่มีปัญหาในการช่วยเหลือ เพราะมีทะเบียนที่ชัดเจน และเป็นพื้นที่ที่ครอบครองถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนไม่มีเอกสารสิทธิต้องหามาตรการอื่นมารองรับ โดยจะหารือกับหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ว่าจะดำเนินการอย่างไร เพราะยางพาราเป็นผลผลิตที่ไทยผลิตเพื่อส่งออก คนซื้อเป็นคนกำหนดเงื่อนไข หากมีการสนับสนุนให้เข้าโครงการประกันรายได้ น่าจะมีปัญหากับประเทศคู่ค้า ที่อาจถูกยกเงื่อนไขนี้มากีดกันด้านการค้ากับยางพาราไทย” นายเฉลิมชัยกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า หากพิจารณาจากราคายางพาราในปัจจุบันที่ 40 บาท/กก. การชดเชยรายได้ให้ชาวสวนยาง กก.ละ 20 บาท รัฐจะใช้เงินทั้งหมด 33,200 ล้านบาท ชาวสวนมีสวนยางพาราที่มีพื้นที่ 25 ไร่ จะมีรายได้จากเงินชดเชยครัวเรือนละ 60,000 บาท อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงเกษตรกรไทยมีการผลิตยางพาราแตกต่างกัน หากคิดราคาเฉลี่ย ณ เดือน ส.ค.2562 แบ่งเป็นยางแผ่นดิบ 28.515 ล้าน กก. หรือสัดส่วน 10.68% ของผลผลิตทั้งหมด ราคาจะอยู่ที่ 39.92 บาท/กก. รัฐบาลต้องชดเชย 20.08 บาท/กก. หรือใช้เงิน 572.59 ล้านบาท น้ำยางสดมีปริมาณ 88.323 ล้าน กก. สัดส่วน 33.08% ของผลผลิตทั้งหมด ราคาประกัน 57 บาท/กก. ราคาชดเชย 17.60 บาท/กก. ใช้งบประมาณ 1,554.49 ล้านบาท ยางก้อนถ้วย ปริมาณ 149.466 ล้าน กก. สัดส่วน 55.98% ของผลผลิตทั้งหมด ราคาประกัน 50 บาท ราคาเฉลี่ย 33.10 บาท/กก. ราคาชดเชย 16.90 บาท/กก. ใช้งบประมาณ 2,525.98 ล้านบาท หรืองบประมาณ 28,950 ล้านบาท

ภายหลังการหารือแนวทางการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางเบื้องต้น หลังจากนี้นายเฉลิมชัยจะเชิญผู้ประกอบการ พ่อค้าคนกลาง และตัวแทนชาวสวนยางเข้ามาพูดคุยพร้อมสร้างความเข้าใจร่วมกัน จึงจะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป

นายเฉลิมชัยยังกล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และ รมว.กลาโหม ระบุให้การยาง แห่งประเทศไทย (กยท.) ไปทบทวนพิจารณาเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตรับรองให้บริษัทจำหน่ายสารผสมยางพารานำไปใช้ทำถนนดินซีเมนต์ผสมยางพารา 3 ราย ว่า บอร์ด กยท.หารือแล้วจะออกใบอนุญาตให้เอกชนผู้ผลิตสารผสมเพิ่มอีก 2 แห่ง และสั่งการไปก่อนสิ้นเดือน ก.ย. จะต้องเพิ่มบริษัทเอกชนเข้าไปอีก 7-10 บริษัท โดยการออกใบอนุญาตจะต้องยื่นผลิตภัณฑ์สารผสมยางพาราให้กับ กยท.ตรวจสอบว่าผ่านหลักเกณฑ์หรือไม่ ส่วนกรณีที่นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ระบุว่าบริษัทผลิตสารผสมน้ำยางทั้ง 3 แห่ง มีการล็อกสเปกเป็นกลุ่มเดียวกันนั้น กยท.ได้ออกหนังสือถึงอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ให้รับซื้อจาก 3 บริษัทที่ กยท.กำหนดเท่านั้น หากนายสุทินเห็นว่าเรื่องนี้มีการทุจริตให้ไปฟ้อง กยท.ได้เลยเพราะอยากจะลงโทษเช่นกัน แต่เมื่อดูเอกสารข้อเท็จจริงแล้ว มันไม่มีอะไร อยากจะให้แยกแยะระหว่างเรื่องของการเมืองกับเรื่องของข้อเท็จจริงด้วย

Tags :

view

ปฎิทิน

« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 

บริการ

IRPro Classified
การชำระเงิน
ติดต่อเรา
เว็บไซต์น่าสนใจ

 หน้าแรก

 บทความ

 IRPro Classified

 รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view